วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552

Intel Core 2 Duo : ดีอย่างไร



Intel® Core™2 Duo processor


ตัวซีพียูในสมัยก่อนนั้นจะสร้างแล้วคิดค้นขึ้นมาเพื่อทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์

ที่เราทำงานอยู่นั้นเร็วขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

แต่..สำหรับ Intel Core2 Duo นั้นจะไม่ได้สร้างขึ้นมาเพื่อ

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียวอีกต่อไปแล้ว

แต่.. Intel Core2 Duo นั้นยังจะช่วยประหยัดพลังงานที่ใช้ด้วย

ซึ่งประโยชน์ข้อนี้เป็นอะไรที่สำคัญมากในช่วงนี้ ซึ่งออกมาตอบสนองต่อสภาวะที่ต้องช่วยกันประหยัดพลังงานแล้ว และการประหยัดพลังงานนี้ทำให้ปัญหา PowerSupply จ่ายไฟไม่เพียงพอก็หายไปอีกเช่นกัน ซีพียูตัวนี้หลังจากทดสอบแล้วมีความเร็วถึง 2.66 GHz และใช้ FSB ที่สูงสุดถึง 1066 MHz เลยทีเดียว และการทดสอบอื่นๆที่ผ่านมาก็นับว่ายอดเยี่ยมที่เดียว



คุณสมบัติ

สร้างขึ้นจาก 45nm Intel® Core™ microarchitecture อันเป็นนวัตกรรมใหม่ เดสก์ทอปหน่วยประมวลผลกลาง Intel® Core™2 Duo มอบประสิทธิภาพระดับ Dual-core และสมรระนะในการใช้พลังงานที่โดดเด่น เทคโนโลยีการผลิต Intel® 45nm ใช้ทรานซิสเตอร์ Hafnium-infused Hi-k ซึ่งช่วยให้หน่วยประมวลผลกลางมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยการเพิ่มความหนาแน่นให้ทรานซิสเตอร์ ช่วยเพิ่มสมรรถนะด้านการใช้พลังงานและเพิ่มความเร็วในการทำงาน หน่วยประมวลผลกลาง Dual-core นี้แสดงถึงความเป็นผู้นำอย่างต่อเนื่องของ Intel และความมุ่งมั่นที่จะผลักดันการประมวลผลแบบ Multi-core
เรื่องนี้คงเอาคราว ๆ พอ ไม่ได้ลึกมากมาย แต่ถ้าใครอยากได้ลึกถึงรายละเอียดกว่าที่ผมเขียน ก็เข้าไปอ่านตามลิงส์ที่ผมทำไว้เพื่อเพิ่มรายละเอียดได้ครับ
ใครที่ไม่ทราบเรื่อง Hardware ใน Computer มากนักแนะนำให้หาข้อมูลเพิ่มตาม ลิงส์ที่มีอยู่นะครับ
ข้อแตกต่างของคำว่า Solo กับ Duo ก็คือ Solo เป็น CPU แบบ Single Core และ Duo เป็น CPU แบบ Dual Core โดยถ้าใน Intel Core 2 Solo จะไม่มีคุณสมบัติ Intel Advanced Smart Cache (การแชร์ L2 cache เพื่อใช้งานร่วมกันของ Core CPU ใน Multi-core CPU) ส่วนนอกนั้นมันก็เหมือน ๆ กัน [Core Solo and Core Duo]
Core 2 Duo เป็น Hybrid CPU ระหว่าง 32bit และ 64bit CPU มันคงไม่เพียว ๆ แบบ Itanium เพราะ Core 2 Duo มันเป็นทั้ง x86 (32bit เดิม) และ x86-64 (EM64T) โดย Core 2 Duo ที่ใส่ใน Notebook มี codename ว่า Merom เป็นใช้สถาปัตยกรรมแบบ Intel Core microarchitecture โดยผลิตแบบ Dual Core และเทคโนโลยีแบบ 65 nm, เพิ่ม Supplemental Streaming SIMD Extension 3 (SSSE3) เข้ามาในชุดคำสั่งบน CPU ด้วย โดยเพิ่มขึ้นมาอีก 16 ชุดคำสั่ง และยังได้เพิ่ม Intel Advanced Smart Cache เพื่อเข้ามาช่วยจัดการข้อมูลใน L2 Cache ที่แชร์การใช้งานกันอยู่ และมีอย่างอื่นอีกเช่น Intel Wide Dynamic Execution, Intel Intelligent Power Capability, Intel Smart Memory Access และ Intel Advanced Digital Media Boost เป็นต้น ส่วนอื่น ๆ อ่านที่ Intel : Inside Intel Core™ Microarchitecture Setting New Standards for Energy-Efficient Performance ครับ
ส่วน Core Duo ที่มี codename ว่า Yonah ใช้ Pentium M microarchitecture แต่ดันใช้ชื่อ Intel Core ให้สับสนกันเล่น ๆ ซะงั้นอ่ะ ซึ่งเป็นการ Rebranding ตัว Pentuim M ใหม่ และให้มีความเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อยนั้นก็คือเปลี่ยนการผลิตจาก 90nm ใน codename Dothan มาเป็น 65nm และเพิ่ม SSE3 ลงไปใน CPU codename ดังกล่าว แถมด้วยเพิ่ม L2 Cache บ้างในบางรุ่น (ส่วนใหญ่จะรุ่นสูง ๆ ) ซึ่ง L2 Cache ที่อยู่ในรุ่น Core Duo นั้นไม่ได้ใช้ Intel Advanced Smart Cache ซึ่งทำให้ L2 Cache นั้นถูกแยกออกมาใช้ในแต่ละ Core Processor ทำให้เกิดการดึงข้อมูลซ้ำซ้อนกันได้ ซึ่งก็ต้องถูกแก้ปัญหานี้โดยใช้ Intel Advanced Smart Cache ในสถาปัตยกรรมแบบ Intel Core microarchitecture นั้นเอง ซึ่งเจ้า Core Duo นั้นก็ยังคงมีความเป็น Pentium M microarchitecture มากกว่า Intel Core microarchitecture อยู่ดี
โดยสรุปได้ย่อ ๆ ว่าสิ่งที่แยกระหว่าง Pentium M microarchitecture และ Intel Core microarchitecture คือ EM64T, SSSE3 , Intel Advanced Smart Cache, Intel Wide Dynamic Execution, Intel Intelligent Power Capability, Intel Smart Memory Access และ Intel Advanced Digital Media Boost เป็นต้น

วิธีสแกนไวรัสบน Flash Drive

Flash Drive ปัญหาไวรัสเรื่องใหญ่ !
Flash Drive อุปกรณ์ในการย้ายข้อมูลที่น่าใช้งานมากที่สุดตัวหนึ่ง แล้วคุณทราบหรือไม่ว่า Flash Drive คือช่องทางการแพร่กระจายไวรัสที่ง่าย เป็นรวดเร็วมากที่สุดในปัจจุบัน นอกจากนี้ USB Hard disk ซึ่งมีหลักการใช้งานเช่นเดียว กับ Flash Drive ก็เป็นอีกตัวการสำคัญไม่น้อยหน้ากันเลย อยากทราบว่า คุณเคยตรวจสอบไวรัสจาก Flash Drive ก่อนการใช้งานหรือไม่ แล้วคุณมั่นใจได้อย่างไรว่า Flash Drive ของคุณนั้น ปลอดภัยจากไวรัส
พฤติกรรมการใช้งานที่เสี่ยงต่อการติดไวรัส
การใช้งาน Flash Drive มากกว่า 1 คอมพิวเตอร์
ใช้ Flash Drive ทั้งที่บ้าน และที่ทำงาน
เคยให้ยืม Flash Drive กับคนอื่นๆ
ไม่เคยตรวจสอบไวรัสใน Flash Drive
สาเหตุพื้นฐานข้างต้น เป็นปัจจัยสำคัญมากที่ทำให้คุณสามารถติดไวรัสได้อย่างง่ายดาย อย่างไรก็ตาม วันนี้ เราก็มีทิป เทคนิค ในการลดปัญหาของการแพร่กระจายไวรัสจาก Flash Drive ลองมาทำตามกันดูน่ะครับ รับรอง จะช่วยลดปัญหาไวรัสของคุณได้อย่างมากๆ เลยทีเดียว


พฤติกรรมการใช้งานที่เสี่ยงต่อการติดไวรัส
การใช้งาน Flash Drive มากกว่า 1 คอมพิวเตอร์
ใช้ Flash Drive ทั้งที่บ้าน และที่ทำงาน
เคยให้ยืม Flash Drive กับคนอื่นๆ
ไม่เคยตรวจสอบไวรัสใน Flash Drive
สาเหตุพื้นฐานข้างต้น เป็นปัจจัยสำคัญมากที่ทำให้คุณสามารถติดไวรัสได้อย่างง่ายดาย อย่างไรก็ตาม วันนี้ เราก็มีทิป เทคนิค ในการลดปัญหาของการแพร่กระจายไวรัสจาก Flash Drive ลองมาทำตามกันดูน่ะครับ รับรอง จะช่วยลดปัญหาไวรัสของคุณได้อย่างมากๆ เลยทีเดียว

วิธีลดปัญหาไวรัสจาก Flash Drive



1.ติดตั้งโปรแกรมกำจัดไวรัส Autorun (ไวรัส Autorun เป็นตัวหนึ่งที่เป็นปัญหาหลักของผู้ใช้งาน Flash Drive) อ่านรายละเอียดและวิธีการใช้งานที่นี่
2.ตรวจสอบไวรัสจาก Flash Drive ก่อนใช้งาน
1.เสียบ Flash Drive ใน USB drive
2.รอจนกระทั่งหน้าจอ แสดงว่า สามารถใช้งานได้
3.ให้กดปุ่ม Windows Logo + E เป็นการเปิดหน้าต่าง Explorer
4.ให้สังเกตุ drive ของ USB ที่เพิ่งแสดง
5.ให้คลิกขวาที่ driveของ USB และคลิกคำสั่ง "Scan for Viruses" หรือคำที่มีความหมายใกล้เคียง (ทั้งนี้ ขึ้นกับโปรแกรม Anti-virus แต่ละแบรนด์)


แค่นี้ก็สามารถลดปัญหาได้อย่างมากแล้วครับ สำหรับกรณีที่โปรแกรม anit-virus ของคุณ ตรวจพบไวรัส แนะนำให้ทำการ "Revove" ก่อน ถ้าไม่ได้ให้ "Quarantine" หรือ "Delete" ทิ้งไปจะดีที่สุด แต่ทั้งนี้ คงต้องพิจารณาว่า ไฟล์ที่ติดไวรัสนั้น เป็นไฟล์ของ Windows หรือเปล่า (ซึ่งผู้ใช้งานทั่วไป อาจไม่สาเหตุวิเคราะห์ได้ แต่ก็ต้องเสี่ยงบ้าง)?หรือไฟล์งานของคุณหรือเปล่า



ข้อห้ามการใช้งาน Flash Drive

หลังจากเสียบ Flash Drive ใน usb port แล้ว การใช้งาน ไม่ควร ดับเบิลคลิกที่ drive ของ Flash Drive เพราะอาจมีไวรัสแฝงอยู่ และแพร่จายได้ทันที การใช้งานควรผ่าน Explorer ก่อน (ก่อนปุ่ม Windows Logo + E)