วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2553

Wi-Fi Direct เทคโนโลยีใหม่ แทนที่ Bluetooth

เทคโนโลยีใหม่รอบี้คอมพ์โน้ตบุ๊ค

ยี่สิบปีที่แล้วตอนที่ไอบีเอ็มและแอปเปิ้ลวางตลาดคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ครุ่นแรกมาราคาแพงหูฉี่ แถมความสามารถยังอ่อนด้อย แต่วันนี้โน้ตบุ๊คกลายเป็นตัวเลือกที่หลายคนเลือกซื้อแทนเครื่องตั้งโต๊ะหรือเดสก์ท็อปไปแล้ว

ถ้าถามว่าในอนาคตอะไรจะมาแทนโน้ตบุ๊ค มันจะมีเครื่องเล็กพกสะดวกกว่าโน้ตบุ๊คในปัจจุบันอีกไหม โทรศัพท์สมาร์ทโฟนที่เริ่มแพร่หลายจะล้มแชมป์ได้หรือไม่

ปัญหาอย่างแรกเลยของโทรศัพท์สมาร์ทโฟน คือ แป้นพิมพ์ที่เล็กไม่เหมาะที่จะบรรเลงนิ้วลงไปได้คล่องต่างกับคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ อย่างดีคงรองรับได้แค่ส่งข้อความสั้นหรือเอสเอ็มเอส แต่จะเอามาพิมพ์งานเป็นเรื่องเป็นราวคงยาก

เทคโนโลยีใหม่รอบี้คอมพ์โน้ตบุ๊ค

ยี่สิบปีที่แล้วตอนที่ไอบีเอ็มและแอปเปิ้ลวางตลาดคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ครุ่นแรกมาราคาแพงหูฉี่ แถมความสามารถยังอ่อนด้อย แต่วันนี้โน้ตบุ๊คกลายเป็นตัวเลือกที่หลายคนเลือกซื้อแทนเครื่องตั้งโต๊ะหรือเดสก์ท็อปไปแล้ว

ถ้าถามว่าในอนาคตอะไรจะมาแทนโน้ตบุ๊ค มันจะมีเครื่องเล็กพกสะดวกกว่าโน้ตบุ๊คในปัจจุบันอีกไหม โทรศัพท์สมาร์ทโฟนที่เริ่มแพร่หลายจะล้มแชมป์ได้หรือไม่

ปัญหาอย่างแรกเลยของโทรศัพท์สมาร์ทโฟน คือ แป้นพิมพ์ที่เล็กไม่เหมาะที่จะบรรเลงนิ้วลงไปได้คล่องต่างกับคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ อย่างดีคงรองรับได้แค่ส่งข้อความสั้นหรือเอสเอ็มเอส แต่จะเอามาพิมพ์งานเป็นเรื่องเป็นราวคงยาก


เทคโนโลยีใหม่รอบี้คอมพ์โน้ตบุ๊ค

ยี่สิบปีที่แล้วตอนที่ไอบีเอ็มและแอปเปิ้ลวางตลาดคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ครุ่นแรกมาราคาแพงหูฉี่ แถมความสามารถยังอ่อนด้อย แต่วันนี้โน้ตบุ๊คกลายเป็นตัวเลือกที่หลายคนเลือกซื้อแทนเครื่องตั้งโต๊ะหรือเดสก์ท็อปไปแล้ว

ถ้าถามว่าในอนาคตอะไรจะมาแทนโน้ตบุ๊ค มันจะมีเครื่องเล็กพกสะดวกกว่าโน้ตบุ๊คในปัจจุบันอีกไหม โทรศัพท์สมาร์ทโฟนที่เริ่มแพร่หลายจะล้มแชมป์ได้หรือไม่

ปัญหาอย่างแรกเลยของโทรศัพท์สมาร์ทโฟน คือ แป้นพิมพ์ที่เล็กไม่เหมาะที่จะบรรเลงนิ้วลงไปได้คล่องต่างกับคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ อย่างดีคงรองรับได้แค่ส่งข้อความสั้นหรือเอสเอ็มเอส แต่จะเอามาพิมพ์งานเป็นเรื่องเป็นราวคงยาก


รายงานข่าวล่าสุด รายละเอียดของข้อกำหนดใหม่ของไวไฟ (Wi-Fi) จะเปิดโอกาสให้อุปกรณ์ไวไฟสามารถค้นหา และเชื่อมต่อการทำงานร่วมกันเองได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านเราท์เตอร์ (router) ซึ่งนั่นเท่ากับว่า ข้อกำหนดใหม่จะทำให้เทคโนโลยีไวไฟสามารถเข้ามาทำหน้าทีแทนเทคโนโลยีบลูทูธ (Bluetooth) ได้นั่นเอง

ข้อกำหนดดังกล่าวมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า ไวไฟไดเร็กต์ (Wi-Fi Direct) ซึ่งประกาสเมื่อวันพุธที่ผ่านมา โดยทาง Wi-Fi Alliance กลุ่มบริษัทในอุตสาหกรรมที่โปรโมทเทคโนโลยีนี้ ข้อกำหนดของไวไฟไดเร็กต์จะช่วยให้การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ไร้สายโดยตรงทำ ได้ง่ายขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีไวไฟ แน่นอนว่า ข้อกำหนดใหม่นี้ย่อมจะท้าทายเทคโนโลยีไร้สายอย่างบลูทูธทีมีฟังก์ชันลักษณะ การทำงานเดียวกันนี้อยู่แล้ว

วิธีการทำงานของ Wi-Fi Direct ก็คือ มันจะเปิดโอกาสให้อุปกรณ์ไวไฟอย่างเช่น มือถือ กล้องดิจิตอล เครื่องพิมพ์ คอมพิวเตอร์ คีย์บอร์ด และเฮดโฟน สามารถเชื่อมต่อระหว่างกันกับอุปกรณ์ไวไฟอื่นๆ ทีละตัว หรือหลายตัวพร้อมกันได้ ซึ่งในข้อกำหนดยังระบุว่า การเชื่อมต่อไร้สายที่เกิดขึ้นจะสนับสนุนที่ความเร็วของอัตราส่งข้อมูล (data rate) มาตรฐานเดียวกันกับไวไฟ โดยสามารถเชื่อมต่อกันได้ในระยะห่างประมาณ 100 เมตร ด้วยข้อกำหนดดังกล่าวทำให้อุปกรณ์ไวไฟสามารถใช้บรอดแบนด์ไร้สายแทนการเชื่อม ต่อด้วยบลูทูธได้ อีกทั้งยังลดความจำเป็นที่จะต้องใช้เราท์เตอร์ลงอีกด้วย เนื่องจากข้อกำหนดนี้จะเปลี่ยนให้แก็ดเจ็ต (gadget) กลายเป็น”แอคเซสพอยนต์ไวไฟ”ขนาดเล็กนั่นเอง ซึ่งนั่นหมายความว่า เราอาจจะลดความจำเป็นที่ต้องใช้เราท์เตอร์ได้ในบางจุดของการใช้งาน

ไว ไฟไดเร็กต์จะส่งผลกระทบโดยตรงกับเทคโนโลยีบลูทูธที่ใช้กันอย่างแพร่หลายใน อุปกรณ์ต่างๆ เนื่องจากมันทำหน้าที่ได้เหมือนกัน อย่างเช่น การเชื่อมต่อระหว่างหูฟังกับเครื่องเล่นเอ็มพีสาม หรือมือถือ อีกทั้งยังสามารถให้การเชื่อมต่อไร้สายความเร็วสูงระหว่างอุปกรณ์ได้เหมือน กันอีกด้วย แม้การเชื่อมต่อไร้สายแบบ Ad hoc จะมีอยู่แล้วในมาตรฐาน ไวไฟปัจจุบัน แต่ข้อกำหนดของไวไฟไดเร็กต์จะใช้งานได้ง่ายกว่า เนื่องจากอุปกรณ์จะสามารถค้นหาซึ่งกันและกัน เพื่อทำการเชื่อมต่อได้นั่นเอง ทางกลุ่ม Wi-Fi Alliance มีแผนที่จะเผยแพร่ข้อกำหนดสำหรับการเชื่อมต่อไร้สายแบบ peer-to-peer ของไวไฟในเร็วๆ นี้ และคาดว่าจะสามารถให้การรับรองอุปกรณ์ทีใช้เทคโนโลยีนี้ได้ในปี 2010

พลังงานไร้สาย

เทคโนโลยีใหม่สำหรับอุปกรณ์อิเล็กโทรนิค
ในอนาคตอันใกล้นี้การชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ เครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กโทรนิคทั้งหลาย อาจเป็นเรื่องง่ายเหมือนกับการท่องเวปแบบไร้สาย (Wireless)

Marin Soljacic ผู้ช่วยศาสตราจารย์แผนกการวิจัยและฟิสิกส์จาก MIT (Massachusetts Institute of Technology) ได้อธิบายผลงานการวิจัยของเขาและเพื่อนร่วมงาน ที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับพลังงานไร้สาย (Wireless energy) ที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า ตัวเขาลืมชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือบ่อยๆครั้ง และก่อนที่แบตเตอรี่จะหมด มันจะส่งเสียงน่ารำคาญคอยเตือนทุกครั้ง และบ่อยครั้งที่มันส่งเสียงร้องเตือนตอนกลางดึก และในคืนนึงที่มือถือของเค้าเริ่มส่งเสียงเตือนตอนเวลาตีสาม เค้าก็คิดขึ้นว่า “มันคงดีแน่ ถ้าอุปกรณ์เหล่านี้มันสามารถชาร์จตัวมันเองได้” และเค้าก็เลยเริ่มทำการรวบรวมทฤษฎีและข้อมูลทางฟิสิกส์ที่จะทำให้เค้าสามารถสร้างวิธีการส่งพลังงานแบบไร้สายนี้ได้

ในความเป็นจริง เกือบสองร้อยกว่าปีแล้วที่นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรก็รู้ว่าการจ่ายพลังงานไฟฟ้านั้น ขดลวดหรือสายไฟนั้นไม่จำเป็นต้องสัมผัสกัน มอเตอร์ไฟฟ้าและหม้อแปลงไฟฟ้านั้นประกอบด้วยขดลวด ซึ่งมีหน้าที่ในการถ่ายพลังงานให้แก่กันและเกิดปรากฏการณ์การเหนี่ยวนำคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic induction) กระแสไฟฟ้าจากฝั่งที่ปล่อยพลังงาน (Emitting coil) จะดึงดูดกระแสจากขดลวดฝั่งรับพลังงาน (Receiving coil) ทำให้เกิดการถ่ายเทพลังงานระหว่างกัน จนเกิดเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งเป็นคลื่นที่เคลื่อนที่โดยไม่อาศัยตัวกลาง ซึ่งขดลวดทั้งสองนี้ตั้งอยู่ในระยะที่ใกล้กัน แต่ไม่สัมผัสกัน

หลังจากนั้น นักวิทยาศาสตร์ยังค้นพบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในรูปแบบของคลื่นวิทยุ (Radio waves) และพบว่า แสง คือ รูปแบบพลังงานอย่างนึงของคลื่นแม่เหล็กฟ้า ซึ่งเป็นพลังงานที่เราได้รับจากดวงอาทิตย์นั่นเอง แต่การถ่ายเทพลังงานจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งโดยวิธีการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านั้นยังไม่มีประสิทธิภาพนัก เนื่องจากลักษณะการถ่ายเทของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าคือแผ่กระจายรอบทิศ ซึ่งทำให้สูญเสียพลังงานจำนวนมากไปโดยเปล่าประโยชน์


ซึ่งผลลัพธ์ที่สำรวจได้ในขณะนี้พบว่า การถ่ายเทพลังงานแบบไร้สายนี้มีขอบเขตที่จำกัด โดยระยะทางที่ถ่ายเทพลังงานได้จะขึ้นอยู่กับขนาดของตัวรับสัญญาณ ยิ่งตัวรับสัญญาณมีขนาดใหญ่เท่าไหร่ ก็จะสามารถรับพลังงานได้ห่างจากแหล่งจ่ายพลังงานได้มากเท่านั้น และในการทดลองสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพานั้น มันสามารถชาร์จแบบเตอรี่ได้โดยตั้งในระยะห่างจากแหล่งจ่ายพลังงานประมาณ 2-3 เมตร ดังนั้นถ้าคุณวางแหล่งจ่ายพลังงานในทุกๆห้อง คุณก็จะสามารถชาร์จแบตเตอรี่ได้จากทุกมุมในบ้านของคุณ

เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาและโทรศัพท์มือถือจะเป็นอุปกรณ์ชนิดแรกที่จะถูกพัฒนาในเรื่องนี้ โดย Soljaic กล่าวว่า อุปกรณ์ชนิดอื่นๆในครัวเรือนก็จะสามารถใช้เทคโนโลยีนี้ได้เช่นกัน อย่างที่บ้านของเขา ก็มีหุ่นยนต์ดูดฝุ่นที่จะคอยทำความสะอาดพื้นห้องอย่างอัตโนมัติ ซึ่งมันทำงานได้อย่างยอดเยี่ยม แต่ติดตรงที่ข้อจำกัดที่ว่าเมื่อมันทำความสะอาดไปไม่เกินสองห้อง แบตเตอรี่ก็จะหมด และถ้ามันสามารถชาร์จตัวของมันเองได้ มันก็จะสามารถทำงานต่อไปได้ ยิ่งไปกว่านั้นเทคโนโลยีพลังงานไร้สายนี้ยังสามารถนำไปใช้กับโรงงานอุตสาหกรรมได้เช่นกัน
Soljacic จึงนำหลักการของการเหนี่ยวนำระยะใกล้ (Close-range induction) ที่เกิดขึ้นในหม้อแปลงไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ที่มีลักษณะใกล้เคียงมาใช้แทนการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ซึ่งการเหนี่ยวนำระยะใกล้นี้มีศักยภาพในการถ่ายเทพลังงานในระยะไกล อย่างเช่น จากมุมห้องนึงไปยังอีกมุมห้องนึงได้ โดยใช้เครื่องส่งสัญญาณแบบไร้รังสี (Non-radiative) บนสนามพลังแม่เหล็กไฟฟ้า ไปยังอุปกรณ์อิเล็กโทรนิคชนิดพิเศษที่ถูกออกแบบให้สะท้อนกับสนามแม่เหล็กได้ ซึ่งพลังงานที่จ่ายออกมาเกินอยู่จะถูกดูดกลับไปยังตัวจ่ายเอง ทำให้ไม่มีพลังงานค้างในบรรยากาศ
โดย Soljacic ได้ทำการอธิบายหลักฟิสิกส์ของการถ่ายเทพลังงานแบบไร้รังสี (Non-radiative energy) และลักษณะการออกแบบของระบบพลังงานไร้สายนี้ไว้ว่า เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีใครนำเอาการหลักการอันใหม่อันนี้มาประยุกต์ใช้ ดังนั้นทีมวิจัยของเค้าต้องเริ่มต้นศึกษาและทดลองทุกอย่างจากศูนย์ ซึ่งรวมถึง การหาวัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสม หรือการสร้างรูปแบบวัตถุแวดล้อมในลักษณะต่างๆ และตัวแปรอื่นๆ ซึ่งตอนนี้เค้าก็ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าดีไซน์ไหนเหมาะสมที่สุด โดยที่ทีมวิจัยได้ใช้หลักการคำนวณและโปรแกรมแบบจำลองจากคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการวิเคราะห์หาผลลัพธ์ดังกล่าว

นาโนเทคโนโลยี

นาโนเทคโนโลยี (อังกฤษ: Nanotechnology) คือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดการ การสร้างหรือการวิเคราะห์ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องจักรหรือผลิตภัณฑ์ที่มีขนาดเล็กมาก ๆ ในระดับนาโนเมตร(ประมาณ 1-100 นาโนเมตร) รวมถึงการออกแบบหรือการประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อใช้สร้างหรือวิเคราะห์วัสดุในระดับที่เล็กมากๆ เช่น การจัดอะตอมและโมเลกุลในตำแหน่งที่ต้องการได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ส่งผลให้โครงสร้างของวัสดุหรืออุปกรณ์มีคุณสมบัติพิเศษขึ้นไม่ว่าทางด้านฟิสิกส์ เคมี หรือชีวภาพ และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

ประวัติ

ริชาร์ด ไฟน์แมน (Richard Feynman) เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับว่า เป็นคนแรกที่แสดงความเห็นถึงความเป็นไปได้ และแนวโน้มของนาโนเทคโนโลยี ในการบรรยายเรื่อง “There’s plenty of room at the bottom” ที่สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย เมื่อปี ค.ศ. 1959 (พ.ศ. 2502) โดยการแสดงความเห็นถึงความเป็นไปได้ และโอกาสของประโยชน์ที่จะได้จากการจัดการในระดับอะตอม

ปี ค.ศ. 1974 (พ.ศ. 2517) ศาสตราจารย์ โนริโอะ ทานิกูชิ (Norio Taniguchi) แห่งมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์โตเกียวเป็นคนแรกที่เริ่มใช้คำว่า “Nanotechnology” (N. Taniguchi, "On the Basic Concept of 'Nano-Technology'," Proc. Intl. Conf. Prod. Eng. Tokyo, Part II, Japan Society of Precision Engineering, 1974)

นาโนเทคโนโลยีช่วยอะไรเราได้บ้าง

ความหวังที่จะฝ่าวิกฤติปัจจุบันของมนุษยชาติจากนาโนเทคโนโลยีมีดังนี้

  1. พบทางออกที่จะได้ใช้พลังงานราคาถูกและสะอาดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  2. มีน้ำที่สะอาดเพียงพอสำหรับทุกคนในโลก
  3. ทำให้มนุษย์สุขภาพแข็งแรงและอายุยืนกว่าเดิม (มนุษย์อาจมีอายุเฉลี่ยถึง 200 ปี)
  4. สามารถเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรได้อย่างพอเพียงกับประชากรโลก
  5. เพิ่มศักยภาพในการติดต่อสื่อสารของผู้คนทั้งโลกอย่างทั่วถึง ทัดเทียม และพอเพียง
  6. เพิ่มศักยภาพในการสำรวจอวกาศมากขึ้น

สาขาย่อยของนาโนเทคโนโลยี

คาร์บอนนาโนทูบ ในโครงสร้างสามมิติ
  1. นาโนอิเล็กทรอนิกส์ (Nanoelectronics)
  2. นาโนเทคโนโลยีชีวภาพ (Bionanotechnology)
  3. นาโนเซนเซอร์ (Nanosensor)
  4. การแพทย์นาโน (Nanomedicine)
  5. ท่อนาโน (Nanotube)
  6. นาโนมอเตอร์ (Nanomotor)
  7. โรงงานนาโน (Nanofactory)

ตัวอย่างผลงานจากนาโนเทคโนโลยี

  • คอนกรีตชนิดหนึ่งใช้เทคโนโลยีนาโน ใช้ Biochemical ทำปฏิกิริยาย่อยสลายกับมลภาวะที่เกิดจากรถยนต์ เช่น ไนโตรเจนไดออกไซด์ ในประเทศอังกฤษได้เริ่มมีการใช้เทคโนโลยีนี้ในการสร้างถนนและอุโมงค์ต่างๆ เพื่อลดมลภาวะบนท้องถนน และขณะเดียวกันเทคโนโลยีนาโน ทำให้อนุภาคคอนกรีตมีขนาดเล็กมาก ฝุ่น และแบคทีเรีย ไม่สามารถฝังตัวในเนื้อคอนกรีตได้ ทำให้อาคารที่ใช้คอนกรีตชนิดนี้ ดูใหม่เสมอ และยังคงไม่สะสมเชื้อโรค
  • เสื้อนาโน ด้วยการฝัง อนุภาคนาโนเงิน (silver nanoparticle) ทำให้เกิดปฏิกิริยากับการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
  • ไม้เทนนิสนาโน ผสม ท่อคาร์บอนนาโน เป็นตัวเสริมแรง ทำให้แข็งแรงขึ้น (อ่าน วัสดุผสม)

การสื่อสารผ่านดาวเทียม

การสื่อสารผ่านดาวเทียมเป็นการสื่อสารที่มีสถานีรับส่งอยู่ที่พื้นดิน ส่งตรงขึ้นไปยังดาวเทียมแล้วส่งต่อลงมายังตัวรับส่งที่พื้นดินอีกครั้งหนึ่ง ดาวเทียมจึงเสมือนเป็นสถานีถ่ายทอดสัญญาณที่ดียิ่ง เพราะลอยอยู่บนท้องฟ้าในระดับสูงมาก

ประเทศไทยเริ่มใช้ดาวเทียมสื่อสารครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 การสื่อสารแห่งประเทศไทยตั้งสถานีภาคพื้นดินที่อำเภอศรีราชา ชลบุรี โดยเช่าช่องสัญญาณจำนวน 13 ช่องสัญญาณ เพื่อติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศ ดาวเทียมที่ใช้ในยุคแรกเป็นของบริษัท ยูอาร์ซีเอ ซึ่งเป็นดาวเทียมทางทหารของสหรัฐอเมริกา

จานรับสัญญาณดาวเทียมที่สถานีภาคพื้นดินมีขนาดใหญ่มาก เช่น จานรับสัญญาณดาวเทียมอิเทลแซด ที่ศรีราชามีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 97 ฟุต สามารถสื่อสารข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย

ใน พ.ศ. 2522 สถานีโทรทัศน์ในประเทศไทยมีการขยายเครือข่ายทั่วประเทศ ในการนี้มีการเช่าช่องสัญญาณจากดาวเทียมปาลาปาของอินโดนีเซีย ทำให้ระบบการถ่ายสัญญาณโทรทัศน์ของประเทศไทยกระจายไปยังเมืองใหญ่ ๆ ได้ทั่วประเทศ จานรับสัญญาณดาวเทียมปาลาปามีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-3 เมตร ซึ่งนับว่าเป็นจานขนาดใหญ่พอสมควร การถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมทำได้ง่าย เพราะไม่ต้องเสียเวลาเดินสายหรือเชื่อมโยงด้วยไมโครเวฟ

ดาวเทียมสื่อสารที่ใช้งานต้องมีลักษณะพิเศษคือ เป็นดาวเทียมค้างฟ้า ซึ่งผิดจากดาวเทียมจารกรรมทางทหาร ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรที่ประเทศมหาอำนาจส่งขึ้นไป ดาวเทียมเหล่านั้นจะเคลื่อนที่โคจรรอบโลกผ่านทุกส่วนของพื้นผิวโลก โดยจะกลับมาที่เดิมในระยะเวลาประมาณ 9-11 วัน

ดาวเทียมค้างฟ้า เป็นดาวเทียมที่ต้องอยู่บริเวณเหนือเส้นศูนย์สูตรและโคจรรอบโลก 1 รอบ ใน 1 วัน พอดีกับเวลาที่โลกหมุนรอบตัวเอง ระดับความสูงและความเร็วการโคจรต้องเหมาะสม ดาวเทียมค้างฟ้าที่ใช้ในการสื่อสารอยู่ที่ระดับความสูง 42,184.2 กิโลเมตร

บริษัทชั้นนำในด้านการข่าว เช่น ซีเอ็นเอ็น จะมีดาวเทียมของตนเองทำให้สามารถส่งข่าวสารหรือรับข่าวสารได้ตลอดเวลาจากทั่วโลก ผู้รับสัญญาณโทรทัศน์ ซีเอ็นเอ็น ต้องมีจานรับสัญญาณจึงจะรับได้ และต้องปรับทิศให้ตรงกับตำแหน่งดาวเทียม เพื่อให้ดาวเทียมแพร่สัญญาณได้ทุกพื้นที่ในโลกจะต้องมีดาวเทียมหลายดวงรอบโลก สัญญาณจะครอบคลุมทั่วโลกได้ต้องใช้ดาวเทียมอย่างน้อยสามดวง

ในช่วงปลาย พ.ศ. 2536 บริษัทชินวัตรได้รับอนุมัติจากรัฐบาลไทย ให้ส่งดาวเทียมสื่อสารของไทยขึ้นเป็นดาวดวงแรกมีชื่อว่า ไทยคม การสื่อสารของไทยจึงก้าวหน้าและสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้มากขึ้น

ดาวเทียมไทยคมอยู่ในตำแหน่งเส้นแวงที่ 101 องศาตะวันออก เหนือเส้นศูนย์สูตรบริเวณอ่าวไทยค่อนไปทางใต้ ใช้สัญญาณพาหะในย่านความถี่ 4 , 10 และ 12 จิกะเฮิรทซ์ บริษัทผู้ผลิตดาวเทียมคือ บริษัทฮิวส์แอโรคราปของประเทศสหรัฐอเมริกา และส่งขึ้นวงโคจรด้วยจรวดของบริษัทเอเรียนสเปสของประเทศฝรั่งเศส

ข้อได้เปรียบของดาวเทียมไทยคมคือ อยู่ตรงประเทศไทยทำให้จานรับสัญญาณมีขนาดเล็กลงเหลือเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 50 เซนติเมตร ดาวเทียมไทยคมครอบคลุมพื้นที่ประเทศไทย และเพื่อนบ้านไว้ ดาวเทียมตัวนี้มีอายุประมาณ 15 ปี

การสื่อสารผ่านดาวเทียมในประเทศไทยจึงเป็นอีกก้าวหนึ่ง ที่ทำให้ประเทศไทยมีทางเลือกของการสื่อสารมากขึ้น การรับรู้ข้อมูลข่าวสารจะทำได้เร็วขึ้น การส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมเป็นหนทางหนึ่งที่จะส่งไปยังพื้นที่ใด ๆ ก็ได้ในประเทศ แม้จะอยู่ในป่าเขาหรือมีสิ่งกีดขวางทางภาคพื้นดิน

ดังนั้น การกระจายข่าวสารในอนาคตจะมีบทบาทเพิ่มขึ้น การใช้ข้อมูลข่าวสารจะเจริญเติบโตไปพร้อมกับความต้องการหรือการกระจายตัวของระบบสื่อสาร

พัฒนาการทางเทคโนโลยีสื่อสาร

ภายในสำนักงานของบริษัทหรือองค์การใด ๆ จะพบว่าเจ้าหน้าที่ใช้เวลาส่วนใหญ่กับการติดต่อสื่อสาร เช่น พนักงานขายสินค้าทำงานอยู่กับการติดต่อทางโทรศัพท์กับลูกค้าอยู่ตลอดเวลา ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการประชุมปรึกษางานการเจรจาธุรกิจทางโทรศัพท์ การโต้ตอบจดหมาย เป็นต้น บุคคลเหล่านี้ต้องการระบบการติดต่อสื่อสารที่ตรงจุดและทันสมัยเพื่อจะช่วยให้งานประสบความสำเร็จ

เมื่อพิจารณาระบบงานภายในสำนักงาน ข้อมูลที่หมุนเวียนไปมาจะอยู่ในรูปแบบหลายอย่าง เช่น การบันทึกย่อ จดหมาย การพูดคุยทางโทรศัพท์ การพบปะประชุมร่วมกันและการเผยแพร่เอกสารไปยังหน่วยงานอื่น ซึ่งผู้ทำงานในสำนักงานสามารถเลือกรูปแบบให้เหมาะสมกับบุคคลหรือหน่วยงาน

วิธีการติดต่อสื่อสารสามารถทำได้หลายทาง ขึ้นกับปัจจัยประกอบหลายประการ เช่น การเลือกรูปแบบการติดต่อ และการเลือกช่องหรือตัวกลางการติดต่อ ซึ่งอาจใช้เลขานุการ ใช้พนักงานส่งจดหมายหรือใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

จากรูปเนื่องจากเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์ก้าวหน้าไปมาก ทำให้เกิดระบบการสื่อสารใหม่ออกมาตลอดเวลา ผู้ทำงานในสำนักงานจึงมีโอกาสเลือกใช้วิธีการติดต่อสื่อสาร ปัจจัยสำคัญซึ่งใช้ในการพิจารณาเลือกระบบสื่อสารให้สามารถนำมาใช้งานได้ดีมีดังนี้

1. กลุ่มผู้ใช้ระบบสื่อสารควรมีจำนวนมากพอ ระบบสื่อสารนั้นจะไม่มีประโยชน์หรือใช้งานน้อยถ้ามีกลุ่มผู้ใช้งานน้อย เพราะจะทำให้การกระจายข้อมูลทำได้ไม่กว้างขวาง

2. การเข้ากันได้ระหว่างระบบสื่อสารกับงานของสำนักงาน ระบบสื่อสารนั้นควรมีรูปแบบเหมือนหรือเข้ากันได้กับงานที่ดำเนินการอยู่ หากต้องมีการเปลี่ยนรูปแบบของข้อมูลเพื่อเข้ากับระบบสื่อสาร หรือข้อมูลที่ได้รับจากระบบสื่อสารไม่สามารถใช้กับงานเดิมได้ จะทำให้เกิดความไม่สะดวก ปราศจากความปลอดภัยและความเชื่อถือได้ในการติดต่อสื่อสาร

3. ความสมเหตุสมผลทางราคา ระบบสื่อสารต่าง ๆ จะต้องมีค่าใช้จ่ายประกอบด้วยเสมอ ซึ่งค่าใช้จ่ายนี้จะต้องอยู่ในวิสัยที่สามารถลงทุนได้และต้องคุ้มค่ากับราคา

ปัจจัยทั้งสามเป็นข้อพิจารณาในการเลือกใช้ระบบสื่อสาร เพื่อทำให้งานในสำนักงานมีประสิทธิภาพสูงสุด การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยระบบสื่อสารก็จะทำให้ระบบงานลดความซับซ้อนลงได้

ในขณะเดียวกันวิวัฒนาการของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เปลี่ยนจากระดับเมนเฟรม ซึ่งมีขนาดใหญ่มาเป็นเครื่องขนาดเล็กระดับตั้งโต๊ะที่มีขีดควาามสามารถเท่าเทียมเครื่องขนาดใหญ่ ทำให้สำนักงานของบริษัทสามารถนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในงานเอกสารและการบริหารทั่วไปได้ เทคโนโลยีของระบบติดต่อสื่อสารสมัยใหม่ จึงมีการนำคอมพิวเตอร์เข้าามาร่วมด้วย

ระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม

ระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม คือ ระบบสารสนเทศที่ช่วยเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคล ที่มีเป้าหมายการทำงานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

จากรูปแสดงตัวอย่างของการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนงานของแผนก คำว่า การทำงานเป็นกลุ่ม (workgroup) ในที่นี้หมายถึง กลุ่มบุคคลจจำนวน 2 คนขึ้นไปที่ร่วมกันทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน โดยทั่วไปบุคลากรในกลุ่มเดียวกันจะรู้จักกันและกัน และทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่ เป้าหมายหลักของการทำงานเป็นกลุ่ม คือ การเตรียมสภาวะแวดล้อมที่จะเอื้ออำนวยประโยชน์ในการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน โดยทำให้เป้าหมายของธุรกิจดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิผล

แนวทางหลักก็คือ การทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกัน โดยเฉพาะข้อมูลและอุปกรณ์เทคโนโลยีพื้นฐาน การนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาเชื่อมกันเป็นเครือข่ายท้องถิ่นหรือเครือข่ายแลน (Local Area Network : LAN) ทำให้มีการเชื่อมโยงและใช้ทรัพยากรของเครื่องคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดดิสค์ และเครื่องพิมพ์ร่วมกัน ข้อมูลที่ใช้ร่วมกันในแผนกจะบรรจุไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ที่มีหน้าที่ควบคุมการจัดเก็บแฟ้มข้อมูลกลาง ที่เรียกว่า เครื่องบริการแฟ้ม (file server) ถ้ามีการแก้ไขข้อมูลในฐานข้อมูลกลางนี้โดยผู้ใช้คนใดคนหนึ่งเมื่อใด ผู้ใช้คนอื่นที่ใช้อยู่บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้ก็จะได้รับข้อมูลที่ผ่านการแก้ไขแล้วนั้นทันที

การประยุกต์ใช้งานคอมพิวเตอร์ในลักษณะของการทำงานเป็นกลุ่ม สามารถใช้กับงานต่างๆ ได้ ในรูปที่ 4.2 แสดงตัวอย่างระบบบริการลูกค้า หรือ การเสนอขายสินค้าผ่านทางสื่อโทรศัพท์ พนักงานในทีมงานอาจจะมีอยู่หลายคน และใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในการเก็บข้อมูลกลางของลูกค้าร่วมกัน กล่าวคือ มีข้อมูลเพียงชุดเดียวที่พนักงานทุกคนจะเข้าถึงได้ ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม พนักงานในกลุ่มทำงานจะต้องรับรู้ด้วย เช่น ลูกค้าโทรศัพท์มาถามคำถามหรือขอคำปรึกษาเกี่ยวกับสินค้า พนักงานอาจจะบันทึกข้อมูลการให้บริการหรือการนัดหมายเพื่อตอบคำถามเพิ่มเติม โดยระบบอาจจะช่วยเตือนความจำเมื่อถึงเวลาต้องโทรศัพท์กลับไปหาลูกค้า แม้พนักงานที่รับโทรศัพท์ครั้งที่แล้วจะไม่อยู่ แต่พนักงานที่ทำงานอยู่สามารถเรียกข้อมูลจากระบบคอมพิวเตอร์ แล้วโทรกลับไปตามนัดหมาย ทำให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้โดยไม่หยุดชะงัก เป็นต้น อันจะเป็นการเพิ่มคุณภาพการบริการ หรือเป็นกลยุทธที่ช่วยทางด้านการขาย

ระบบสารสนเทศของกลุ่มหรือแผนกยังมีแนวทางอื่น ๆ ในการสนับสนุนการจัดการการบริหารงาน และการปฎิบัติการอีก เช่น การสื่อสารด้วยระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การประชุมผ่านเครือข่าย ซึ่งอาจจะประชุมปรึกษาหารือกันได้โดยอยู่ต่างสถานที่กัน การจัดทำระบบแผงข่าว (Bulletin Board System : BBS) ของแผนก การประชุมทางไกล (Video conferrence) การช่วยกันเขียนเอกสาร ตำรา หรือรายงานร่วมกันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การทำตารางทำงานของกลุ่ม ระบบสนับสนุนการตัดสินใจของกลุ่ม ระบบจัดการฐานข้อมูลของกลุ่ม ระบบการไหลเวียนอัตโนมัติของเอกสาร ระบบการจัดการกับข้อความ ระบบการจัดตารางเวลาของกลุ่ม ระบบบริหารโครงการของกลุ่ม ระบบการใช้แฟ้มข้อความร่วมกันของกลุ่ม และระบบประมวลผลภาพเอกสาร เป็นต้น

ปัจุบันโปรแกรมบนเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ จะมีแนวคิดของการทำงานเป็นกลุ่มด้วยเสมอ การใช้คอมพิวเตอร์ทำงานเป็นกลุ่ม (workgroup compuing) เริ่มพัฒนาตัวเองสูงขึ้น และมีโปรแกรมสำเร็จที่มีความเหมาะสมมากขึ้น สำหรับการใช้งานคอมพิวเตอร์ทำงานเป็นกลุ่มในอนาคตอันใกล้นี้

ระบบสารสนเทศสระดับองค์การ

ระบบสารสนเทศระดับองค์การ คือ ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนงานขององค์การในภาพรวม ระบบในลักษณะนี้จะเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานร่วมกันของหลายแผนก โดยการใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องและส่งผ่านถึงกันจากแผนกหนึ่งข้ามไปอีกแผนกหนึ่งได้ ระบบสารสนเทศดังกล่าวนี้จึงสามารถสนับสนุนงานการใช้ข้อมูลเพื่อการบริหารงานในระดับผู้ปฏิบัติการ และสนับสนุนงานการบริหารและจัดการในระดับที่สูงขึ้นได้ด้วย เนื่องจากสามารถให้ข้อมูลจากแผนกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาประกอบการตัดสินใจ โดยอาจนำข้อมูลมาแสดงในรูปแบบสรุป หรือในแบบฟอร์มที่ต้องการได้ บ่อยครั้งที่การบริหารงานในระดับสูงจำเป็นต้องใช้ข้อมูลร่วมกันจากหลายแผนก เพื่อประกอบการตัดสินใจ

ระบบการประสานงานเพื่อการสร้างรายได้ให้กับธุรกิจการค้า ดังแสดงในรูปที่ 4.5 เป็นตัวอย่างระบบสารสนเทศระดับองค์การในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการขายสินค้า โดยมีผ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในองค์การหลายฝ่าย เช่น ฝ่ายการขาย ฝ่ายสินค้าคงคลัง ฝ่ายพัสดุ และฝ่ายการเงิน แต่ละฝ่ายอาจจะมีระบบข้อมูลหรือระบบคอมพิวเตอร์ที่สนับสนุนการปฏิบัติการของฝ่ายเอง และยังมีระบบการสื่อสารหรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ระหว่างฝ่ายได้ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลไปตามสารการเชื่อมโยง เนื่องจากจุดประสงค์ของการทำธุรกิจก็เพื่อสร้างผลกำไรให้กับบริษัท ถ้ามีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างฝ่ายอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ย่อมทำให้เกิดการขายสินค้า และการตามเก็บเงินได้อย่างรวดเร็ว เช่น ทันทีที่ฝ่ายการขายตกลงขายสินค้ากับลูกค้า ก็จะมีการป้อนข้อมูลการขายสินค้าลงในระบบคอมพิวเตอร์ ฝ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องจะได้รับข้อมูลการขายนี้ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ของตัวเองได้อย่างต่อเนื่องทันที เช่น ฝ่ายสินค้าคงคลังจัดตรวจสอบเตรียมใบเบิกสินค้าเพื่อส่งให้ฝ่ายพัสดุได้ทันที ฝ่ายการเงินตรวจสอบความถูกต้องของการขายสินค้า แล้วดำเนินการทำใบส่งสินค้า และดูแลเรื่องระบบลูกหนี้โดยอัตโนมัติและสุดท้าย ฝ่ายพัสดุดำเนินการจัดส่งสินค้าไปให้ลูกค้าแล้ว ก็จะดำเนินการติดตามการค้างชำระจากลูกหนี้ต่อไป

จากรูปหัวใจหลักสำคัญของระบบสารสนเทศในระดับองค์การ คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ภายในองค์การที่จะต้องเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของแต่ละแผนกเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดการใช้ข้อมูลร่วมกัน นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ทรัพยการฮาร์ดแวร์ร่วมกันได้ด้วย ในเชิงเทคนิคระบบสารสนเทศระดับองค์การอาจจะมีระบบคอมพิวเตอร์ที่ดูแลแฟ้มข้อมูล มีการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์หลายระบบเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายระดับท้องถิ่น หรืออาจมีเครือข่ายระดับกลุ่มอยู่แล้ว จึงเชื่อมโยงเครือข่ายย่อยเหล่านั้นเข้าด้วยกัน กลายเป็นเครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ในกรณีที่มีจำนวนผู้ใช้ในองค์การมาก เครื่องมือพื้นฐานอีกประการหนึ่งของระบบข้อมูล ก็คือ ระบบจัดการฐานข้อมูล ซึ่งเป็นโปรแกรมสำคัญในการช่วยดูแลระบบฐานข้อมูลและการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศซึ่งเป็นระบบสนับสนุนการบริหารงาน การจัดการ และการปฏิบัติงานของบุคคล ไม่ว่าจะป็นระดับบุคคล ระดับกลุ่ม หรือ ระดับองค์การ ไม่ใช่มีเพียงเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่มีองค์ประกอบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จของระบบ ดังรูปที่ 4.6 ดังนี้
แสดงองค์ประกอบของระบบสารสนเทศ คือ ฮาร์ดแวร์ซอฟต์แวร์ ข้อมูล บุคลากร และขั้นตอนการปฏิบัติงาน ที่มีการทำงานสัมพันธ์กันจะขาดระบบใดระบบหนึ่งไม่ได้
1 ฮาร์ดแวร์

ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสารสนเทศ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รอบข้าง รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดตรวจ

2 ซอฟต์แวร์

ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญประการที่สอง ซึ่งก็คือลำดับขั้นตอนของคำสั่งที่จะสั่งงานให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน เพื่อประมวลผลข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการของการใช้งาน ในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติงาน ซอฟต์แวร์ควบคุมระบบงาน ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ประยุกต์สำหรับงานต่าง ๆ ลักษณะการใช้งานของซอฟต์แวร์ก่อนหน้านี้ ผู้ใช้จะต้องติดต่อใช้งานโดยใช้ข้อความเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันซอฟต์แวร์มีลักษณะการใช้งานที่ง่ายขึ้น โดยมีรูปแบบการติดต่อที่สื่อความหมายให้เข้าใจง่าย เช่นมีส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ที่เรียกว่า"กุย " (Graphical User Interface : GUI) ส่วนชอฟต์แวร์สำเร็จที่มีใช้ในท้องตลาด ทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับบุคคลเป็นไปอย่างกว้างขวาง และเริ่มมีลักษณะส่งเสริมการทำงานของกลุ่มมากขึ้น ส่วนงานในระดับองค์การส่วนใหญ่มักจะมีการพัฒนาระบบตามความต้องการโดยการว่าจ้าง หรือโดยนักคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในฝ่ายคอมพิวเตอร์ขององค์การ เป็นต้น

3 ข้อมูล

ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของระบบสารสนเทศ อาจจะเป็นตัวชี้ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของระบบได้ เนื่องจากจะต้องมีการเก็บข้อมูลจากแหล่งกำเนิด ข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง มีการกลั่นกรองและตรวจสอบแล้วเท่านั้นจึงจะมีประโยชน์ ข้อมูลจำเป็นจะต้องมีมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้งานในระดับกลุ่มหรือระดับองค์การ ข้อมูลต้องมีโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบระเบียบเพื่อการสืบค้นที่รวดเร็วมีประสิทธิภาพ

4 บุคลากร

บุคลากรในระดับผู้ใช้ ผู้บริหาร ผู้พัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ระบบ และนักเขียนโปรแกรม เป็นองค์ประกอบสำคัญในความสำเร็จของระบบสารสนเทศ บุคลากรมีความรู้ความสามารถทางคอมพิวเตอร์มากเท่าใด โอกาสที่จะใช้งานระบบสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์ได้เต็มศักยภาพและคุ้มค่ายิ่งมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะระบบสารสนเทศในระดับบุคคลซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้มีโอกาสพัฒนาความสามารถของตนเองและพัฒนาระบบงานได้เองตามความต้องการ สำหรับระบบสารสนเทศในระดับกลุ่มและองค์การที่มีความซับซ้อนมาก อาจจะต้องใช้บุคคลากรในสาขาคอมพิวเตอร์ โดยตรงมาพัฒนาและดูแลระบบงาน

5 ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนของผู้ใช้หรือของบุคลากรที่เกี่ยงข้อง ก็เป็นเรื่องสำคัญอีกประการหนึ่ง เมื่อได้พัฒนาระบบงานแล้วจำเป็นต้องปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอน ในขณะที่ใช้งานก็จำเป็นต้องคำนึงถึงลำดับขั้นตอน การปฏิบัติของคนและความสัมพันธ์กับเครื่อง ทั้งในกรณีปกติและกรณีฉุกเฉิน เช่น ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล ขั้นตอนการประมวลผล ขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อเครื่องมือชำรุดหรือข้อมูลสูญหาย และขั้นตอนการทำสำเนาข้อมูลสำรองเพื่อความปลอดภัย เป็นต้น สิ่งเล่านี้ต้องมีการซักซ้อม มีการเตรียมการ และการทำเอกสารคู่มือการใช้งานให้ชัดเจน